ในยุคที่ทุกแบรนด์ต่างแข่งกันแย่งพื้นที่บนโลกออนไลน์ การขาดไอเดียหรือไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงกับการทำคอนเทนต์ เป็นเรื่องที่เจอได้บ่อย โดยเฉพาะกับนักการตลาดที่ทำการตลาดออนไลน์, เจ้าของธุรกิจ, เอเจนซี่โฆษณา หรือทีมที่รับทำการตลาด ที่ต้องรับมือกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนเร็วแบบก้าวกระโดด ถ้าคุณกำลังเจอปัญหาแบบนี้อยู่ บทความนี้จะพาไปรู้จักกับแนวทางใหม่ของการทำ Content Marketing ที่ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ช่วยให้คุณวางแผนสร้างเนื้อหาได้อย่างเป็นระบบด้วย Content Pillar ที่ใช้ได้จริง บทความนี้จะพาคุณย้อนกลับไปสู่ประวัติความเป็นมาของ Agency และการเปลี่ยนแปลงที่นำมาสู่ยุคของ Digital Marketing ที่มีบริษัททำการตลาดออนไลน์มากมายเหมือนในปัจจุบัน ปัญหาโลกแตกของนักการตลาดยุคใหม่ การสร้างคอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำ Content Marketing ให้ประสบความสำเร็จ แต่หลายครั้งนักการตลาด และทีมที่รับทำการตลาดต่างประสบปัญหาเดียวกัน คือการคิดหัวข้อใหม่ๆ ไม่ออก ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของ Content Pillar และประสิทธิภาพของแคมเปญโดยรวม เคล็ดลับเด็ด! แก้ปัญหาคิดคอนเทนต์ไม่ออก 1. สร้างระบบ Content Pillar ที่ชัดเจน การมี Content Pillar ก็เหมือนกับการมีแผนที่นำทาง เพราะการกำหนดหัวข้อหลักๆ ของคอนเทนต์เอาไว้ล่วงหน้า จะช่วยให้เราสร้างเนื้อหาได้อย่างมีทิศทาง เช่น แบ่งเป็นหมวดหมู่ให้ความรู้, การแก้ปัญหา, สร้างแรงบันดาลใจ หรือโปรโมทสินค้า/บริการ . 2. ระดมสมองแบบมีเทคนิค เทคนิคนี้ช่วยให้เอเจนซี่โฆษณาและทีมทำการตลาดออนไลน์ได้มุมมอง และไอเดียที่หลากหลายมากขึ้น ด้วยการจัดประชุมระดมสมอง โดยชวนคนจากหลายๆ แผนกมาช่วยกันออกความคิด ก็จะทำให้ Content Pillar ของคุณมีความน่าสนใจมากขึ้น 3. ใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึก เพราะข้อมูลลูกค้าคือขุมทรัพย์ การวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าจากระบบ CRM หรือเครื่องมือ Analytics ต่างๆ จะช่วยให้เข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายของเราต้องการอะไร และข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นแรงบันดาลใจให้เราสร้างคอนเทนต์ที่โดนใจได้ . 4. ใช้ AI ให้เป็นประโยชน์ ในยุคนี้ AI ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป หลายๆ ทีมที่รับทำการตลาด และเอเจนซี่โฆษณา ต่างก็เริ่มใช้เทคโนโลยีเหล่านี้มาช่วยวิเคราะห์เทรนด์, พฤติกรรมของลูกค้า และเสนอไอเดียคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ซึ่งสามารถทำให้การทำ Content Marketing ของคุณ ที่มีประสิทธิภาพ และตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น . 5. สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ หรือคนที่น่าสนใจ การสร้างคอนเทนต์จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ, คนที่มีชื่อเสียงในวงการต่างๆ ก็ถือเป็นวิธีที่ช่วยให้ได้คอนเทนต์ที่เอาไปใช้ทำคอนเทนต์ได้หลายรูปแบบ ทั้งบทความยาว วิดีโอ หรือซีรีส์เนื้อหาที่ต่อเนื่อง . เคล็ดลับเด็ด! แก้เปิดคลังไอเดีย Content Pillar ช่วยสร้างคอนเทนต์ให้น่าสนใจ 1. เนื้อหาแบบ Real-time และ Trending เพราะการสร้างคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้น เช่น มีมตลกจากเทรนด์บนโซเชียลมีเดีย คอนเทนต์เฉพาะเทศกาล หรือการแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นสังคม เป็น Content Pillar ประเภทหนึ่งที่ช่วยให้แบรนด์ดูทันสมัย และเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย ดังนั้นถ้าไม่รู้จะทำคอนเทนต์อะไร ก็เกาะกระแสไปเลย . 2. คอนเทนต์เชิงให้ความรู้ โดยการสร้างคอนเทนต์ที่ให้ความรู้ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ ทำคู่มือการใช้งาน, วิดีโอสาธิต หรือบทความเทคนิคที่ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ลูกค้า เพื่อเพิ่มสร้างความเชื่อถือ และทำให้แบรนด์กลายเป็น…

Persona สำคัญอย่างไร? วิธีสร้าง Buyer Persona ยังไงให้ใช้งานได้จริง
Persona สำคัญอย่างไร? วิธีสร้าง Buyer Persona ยังไงให้ใช้งานได้จริง
ในโลกของการตลาดดิจิทัล การรู้จัก “ใคร” คือกลุ่มเป้าหมายของเรามีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมา และนี่คือเหตุผลที่ Buyer Persona
หรือ ต้นแบบของลูกค้า (Customer Archetype) มีบทบาทสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดให้ประสบความสำเร็จ
Buyer Persona ไม่ใช่แค่การเดาสุ่มว่าใครจะซื้อสินค้าของเรา แต่คือการศึกษาลงลึกถึง พฤติกรรม ความต้องการ และปัญหา ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
เพื่อให้แบรนด์สามารถออกแบบสินค้า บริการ หรือการสื่อสารที่ตรงใจมากที่สุด ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญสำหรับธุรกิจที่กำลังมองหาทีม รับทำการตลาด เพื่อสร้างแคมเปญ
ที่ตอบโจทย์
Buyer Persona สำคัญอย่างไร?
- ปรับกลยุทธ์ได้ตรงจุด: การเข้าใจ Persona ช่วยให้เรารู้ว่าเนื้อหาประเภทใด โฆษณาแบบไหน หรือแพลตฟอร์มใดที่จะได้ผลที่สุด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์
อย่างยิ่งสำหรับทีม รับทำการตลาด ในการวางแผนที่แม่นยำ - เพิ่ม Conversion: เมื่อการสื่อสารของคุณตรงกับปัญหาหรือความต้องการของลูกค้า ความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนจากผู้สนใจเป็นผู้ซื้อจะสูงขึ้น
ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของการ รับทำการตลาด - ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น: การรู้ว่าคุณควรลงทุนในช่องทางไหนและหลีกเลี่ยงช่องทางใดช่วยประหยัดงบประมาณได้
- สร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำ: เมื่อเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง คุณสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและความภักดีต่อแบรนด์ได้
ซึ่งทีม รับทำการตลาด มักใช้จุดนี้ในการสร้างความได้เปรียบให้แบรนด์
วิธีสร้าง Buyer Persona ที่ใช้งานได้จริง
.
1. เก็บข้อมูลลูกค้า (Research Phase)
เริ่มต้นด้วยการเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อให้ได้มุมมองที่ครอบคลุม:
- วิเคราะห์ลูกค้าปัจจุบัน:
ดูจากข้อมูลการซื้อ พฤติกรรมการใช้งาน หรือความถี่ในการซื้อ - สำรวจตลาด:
ใช้แบบสอบถามหรือสัมภาษณ์ลูกค้าเพื่อเข้าใจถึงปัญหาและความคาดหวัง - ดูจาก Insights บนแพลตฟอร์มดิจิทัล:
เช่น Facebook Audience Insights, Google Analytics หรือ TikTok Analytics เพื่อรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณมีพฤติกรรมอย่างไร
ข้อมูลเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทีม รับทำการตลาด จะนำไปใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. แบ่งกลุ่มตามข้อมูลประชากร (Demographics)
ข้อมูลที่ควรระบุ:
- อายุ
- เพศ
- อาชีพ
- รายได้
- สถานที่อยู่
ตัวอย่าง:
Persona 1: สาววัย 25-35 ปี ทำงานสายครีเอทีฟในเมืองใหญ่ ชอบเทคโนโลยีใหม่ๆ รายได้ปานกลางถึงสูง
การแบ่งกลุ่มนี้ทำให้การออกแบบคอนเทนต์และโฆษณาของทีม รับทำการตลาด สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น
3. วิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการ (Psychographics)
นอกเหนือจากข้อมูลพื้นฐาน ลองเจาะลึกถึง:
- ไลฟ์สไตล์: พวกเขาทำอะไรในเวลาว่าง?
- Pain Points: ปัญหาหรืออุปสรรคที่พวกเขาเจอในชีวิต
- ความต้องการ: สิ่งที่พวกเขาอยากได้หรือหวังว่าจะได้จากแบรนด์
ตัวอย่าง:
Persona 1: “ชอบความสะดวก รวดเร็ว มีเวลาแค่น้อยนิด แต่ต้องการคุณภาพสูงในสิ่งที่ซื้อ”
การเข้าใจในจุดนี้ จะช่วยให้ทีม รับทำการตลาด วางแผนคอนเทนต์หรือโฆษณาที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงใจ
4. สร้างโปรไฟล์ Persona
นำข้อมูลทั้งหมดมารวมกันเป็น “ตัวละครสมมติ” เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจและสื่อสารกับทีมงาน
ตัวอย่าง
Buyer Persona:
ชื่อ: แอนนา
อายุ: 30 ปี
อาชีพ: นักออกแบบกราฟิกในกรุงเทพ
Pain Point: มีเวลาจำกัด แต่ต้องการอาหารที่ดีต่อสุขภาพและพร้อมรับประทาน
ความต้องการ: ชอบเทคโนโลยี ใช้งานแอปสั่งอาหารบ่อย และต้องการสินค้าที่ช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น
โปรไฟล์นี้จะช่วยให้การทำแคมเปญการตลาดชัดเจนขึ้น และเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทีม รับทำการตลาด จะนำไปใช้ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
5. นำ Persona ไปใช้ในกลยุทธ์การตลาด
- การออกแบบคอนเทนต์:
ใช้ Persona ในการกำหนดว่าคอนเทนต์ควรมีโทนแบบไหน เช่น แอนนาที่มีเวลาจำกัด อาจสนใจวิดีโอ How-to ที่ใช้เวลาไม่นาน - การเลือกแพลตฟอร์ม:
หาก Persona ของคุณอยู่ในกลุ่ม Gen Z อาจเน้น TikTok หรือ Instagram มากกว่า - การตั้งเป้าหมายโฆษณา:
ใช้ข้อมูล Persona ในการตั้งค่า Target Audience บน Facebook Ads หรือ Google Ads
การวางแผนเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของการทำงานที่ทีม รับทำการตลาด ใช้เพื่อเพิ่ม ROI ให้กับธุรกิจ
สรุป
Buyer Persona ไม่ใช่เพียง “ข้อมูล” แต่เป็นเข็มทิศที่ช่วยให้แบรนด์ของคุณมองเห็นความต้องการของลูกค้าและตอบโจทย์ได้ตรงจุดมากขึ้น
การลงทุนเวลากับการสร้าง Persona ที่แม่นยำ จะช่วยให้กลยุทธ์การตลาดของคุณทรงพลังและสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้าได้อย่างแท้จริง
—————————-
หากคุณกำลังมองหาที่ปรึกษาและทีมทำการตลาดออนไลน์ เอเจนซี่โฆษณา สร้างยอดขายทะลุเป้าแบบก้าวกระโดด ติดต่อเราเพื่อให้ธุรกิจของคุณ
ไปสู่เป้าหมายที่ใฝ่ฝัน
ติดต่อรับคำปรึกษาฟรี !!!
Tel : 094-616-3651
Line OA : @unicronet
#Unicronet #PerformanceMarketing #digital agency #เอเจนซี่โฆษณา #Marketing agency #Content marketing
Related Posts

ในโลกของการตลาด และธุรกิจ คำว่า "Agency" หรือ "เอเจนซี่" เป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในบริบทของการทำการตลาดดิจิทัล แต่คุณเคยสงสัยไหมว่า คำนี้มีที่มาจากอะไร และทำไมปัจจุบันเราจึงได้ยินคำว่า “Advertising Agency” หรือ "เอเจนซี่โฆษณา" มากกว่า บทความนี้จะพาคุณย้อนกลับไปสู่ประวัติความเป็นมาของ Agency และการเปลี่ยนแปลงที่นำมาสู่ยุคของ Digital Marketing ที่มีบริษัททำการตลาดออนไลน์มากมายเหมือนในปัจจุบัน ความเป็นมาของคำว่า Agency . จุดกำเนิดของ Agency คำว่า "Agency" มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินคำว่า "Agentia" ซึ่งหมายถึง "การกระทำ" หรือ "การดำเนินการ" ดังนั้น Agency จึงหมายถึงองค์กรหรือบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการดำเนินการต่างๆ แทนผู้อื่น Agency ในบริบทธุรกิจ ในโลกธุรกิจ Agency เริ่มมีบทบาทสำคัญตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างบริษัท และลูกค้า ไปจนถึงเอเจนซี่จัดหางาน . วิวัฒนาการของ Agency สู่ Advertising Agency . ยุคเริ่มต้นของเอเจนซี่โฆษณา แนวคิดเรื่องเอเจนซี่โฆษณาเริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 18 โดยสำนักงานโฆษณาแห่งแรก ๆ ของโลกคือ William Taylor ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1786 ที่ลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยเน้นบทบาทเป็น “ตัวแทนขายพื้นที่โฆษณา” ให้กับหนังสือพิมพ์ และยังไม่ได้มีการรับทำการตลาดเกิดขึ้น ต่อมาในปี 1869 เมื่ออุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงเกิดเอเจนซี่รับทำการตลาดที่ขยายบทบาทมากกว่าการขายพื้นที่โฆษณาอย่าง N.W. Ayer & Son ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย โดยให้บริการแบบครบวงจรทั้งด้านกลยุทธ์การตลาด ครีเอทีฟ และวางแผนการสื่อสาร จึงถือว่าเป็น “บริษัทรับทำการตลาดแบบสมัยใหม่ (full-service agency)” แห่งแรกของโลก ยุคทองของเอเจนซี่โฆษณา ในช่วงทศวรรษ 1950-1960 ถือเป็นยุคทองของเอเจนซี่โฆษณา เมื่อโทรทัศน์กลายเป็นสื่อหลักในการโฆษณา เอเจนซี่ต่างๆ เริ่มพัฒนากลยุทธ์การตลาด และแคมเปญโฆษณามากขึ้น และมีเอเจนซี่รับทำการตลาดเพิ่มขึ้นเยอะมากในยุคนี้ การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล . Digital Marketing และบทบาทใหม่ของเอเจนซี่โฆษณา ด้วยการเติบโตของอินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีต่างๆ บริษัทรับทำการตลาดจึงเริ่มปรับตัวครั้งใหญ่ การทำการตลาดออนไลน์กลายเป็นทักษะสำคัญที่ต้องมี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจาก Traditional Advertising Agency ที่รับทำการตลาดแบบเดิมๆ สู่ Digital Agency ที่ทำการตลาดออนไลน์แบบเต็มรูปแบบ บริการหลักของเอเจนซี่โฆษณาในยุค Digital Marketing การทำการตลาดออนไลน์ : วางแผนกลยุทธ์การตลาดบนแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ การทำคอนเทนต์ออนไลน์ : สร้างเนื้อหาที่ดึงดูด และมีประสิทธิภาพสำหรับสื่อออนไลน์ การยิงแอด : บริหารจัดการโฆษณาออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Google Ads, Facebook Ads การให้คำปรึกษาด้านการตลาด: วิเคราะห์และให้คำแนะนำเชิงกลยุทธ์แก่ธุรกิจ การวางแผน และวิเคราะห์ข้อมูล : เก็บ วิเคราะห์ และตีความข้อมูลเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดแบบ Data-Driven Marketing การทำ SEO และ SEM :…

สำหรับนักการตลาด และเอเจนซี่โฆษณาทั้งหลาย เทศกาลสงกรานต์ไม่ใช่แค่ช่วงเวลาแห่งความสนุกสนานเท่านั้น แต่ยังถือเป็นโอกาสทางการตลาดที่หลายแบรนด์รอคอยอีกด้วย ยิ่งในยุคที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าเทรนด์แฟชั่น ข้อมูลเชิงลึกอย่าง customer insight จึงกลายเป็นอาวุธสำคัญในการสร้างผลลัพธ์ให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกับแพลตฟอร์มที่ผู้คนใช้เวลาอยู่มากที่สุดอย่าง TikTok จากข้อมูลของ TikTok Insight ล่าสุด มีการเผยข้อมูลสำคัญที่สะท้อนพฤติกรรม และแนวโน้มของผู้บริโภคในช่วงเทศกาล ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนเที่ยว ไปจนถึงการตัดสินใจซื้อสินค้าจากการดูคอนเทนต์ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้สามารถนำไปใช้ต่อยอดกลยุทธ์ในการทำการตลาดออนไลน์ได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะสำหรับใครที่ทำงานด้าน digital marketing หรือรับทำการตลาด ซึ่งต้องการ insight แบบเรียลไทม์มาใช้ในการวางแผนแคมเปญคนไทยใน TikTok พร้อมจ่ายมากขึ้นในช่วงสงกรานต์ จากผลสำรวจล่าสุดของ TikTok ประเทศไทย พบว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์:63% ของผู้ใช้งานมีแนวโน้มใช้เวลาอยู่บน TikTok มากขึ้น98% มีแผนใช้จ่ายเท่าเดิมหรือมากกว่ามากกว่า 58% วางแผนซื้อของโดยตรงผ่าน TikTok Shop จากพฤติกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคในแพลตฟอร์มนี้ "เปิดใจ" และ "พร้อมจ่าย" มากขึ้นในช่วงเทศกาล ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการสร้าง Brand Awareness และกระตุ้น Conversion อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะหากคุณเป็นแบรนด์ หรือเอเจนซี่โฆษณาที่ให้บริการรับทำการตลาด และต้องการใช้ช่วงเวลานี้ในการขยายฐานลูกค้า รวมถึงเพิ่มยอดขายอย่างตรงจุด เพราะจุดเด่นของ TikTok คือแพลตฟอร์มที่สามารถพร้อมเปลี่ยนจากผู้ชมเป็นลูกค้าได้ทันที ผ่านคอนเทนต์ที่โดนใจ หรือถูกจังหวะความต้องการของผู้ใช้งานได้พอดี จุดนี้จึงเป็นอีกหนึ่งจุดแข็งที่เอเจนซี่โฆษณาควรใช้ให้เกิดประโยชน์ในการออกแบบแคมเปญทำการตลาดออนไลน์ ดังนั้นการเตรียมแคมเปญให้พร้อมก่อนคู่แข่งเพียงไม่กี่วัน อาจกลายเป็นแต้มต่อที่ทำให้แคมเปญของคุณกลายเป็นกระแสได้ง่ายกว่าแล้วผู้บริโภคใน TikTok ให้ความสนใจอะไรเป็นพิเศษ ? หนึ่งใน customer insight ที่น่าสนใจ คือเมื่อเข้าสู่ช่วงสงกรานต์ ผู้ใช้งาน Tiktok หลายๆ คนจะมีพฤติกรรมการเสพคอนเทนต์ที่หลากหลายกว่าช่วงปกติ และเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ ได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น...เทรนด์แฟชั่นที่ผสมผสานความร่วมสมัยกับวัฒนธรรมคลิปแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร และเมนูที่คนกำลังพูดถึงรีวิวจาก Creator หรือ KOL ที่ช่วยให้การวางแผนเที่ยวง่ายขึ้นสินค้าออกใหม่ที่มีเฉพาะช่วงเทศกาลวิดีโอเทคนิคการแต่งหน้า การดูแลผิว และการแต่งตัวให้เหมาะกับอากาศและกิจกรรมช่วงสงกรานต์ ดังนั้นสำหรับแบรนด์หรือทีมที่รับทำการตลาด ข้อมูลเหล่านี้คือข้อมูลสำคัญที่ช่วยให้ทีมรับทำการตลาดวางแผนคอนเทนต์ได้แม่นยำขึ้น ทั้งในเชิงของสไตล์การนำเสนอ จุดเชื่อมโยงทางอารมณ์ และจังหวะเวลาที่เหมาะสม เมื่อทีมรับทำการตลาดเข้าใจพฤติกรรมเหล่านี้ ก็สามารถออกแบบแคมเปญให้ตอบโจทย์ได้มากกว่าแค่ยอดวิว แต่ยังสร้างการมีส่วนร่วมและผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ยั่งยืนได้ ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างแบรนด์ในระยะยาว ทั้งหมดนี้จึงไม่ใช่แค่ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ แต่เป็นโอกาสสำคัญสามารถนำไปต่อยอดเป็นแคมเปญที่พูดกับผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด เพราะการเข้าใจว่า "คนดูอะไร" และ "สนใจอะไร" คือพื้นฐานสำคัญของ การสร้างแบรนด์ และการทำการตลาดออนไลน์ให้ได้ผลจริง ไม่ว่าจะเป็นการเจาะตลาดใหม่หรือเสริมความสัมพันธ์กับฐานลูกค้าเดิมไม่ใช่แค่ดู แต่ “ตัดสินใจ” ได้ทันทีหลังจากดูคอนเทนต์ สิ่งที่ทำให้ TikTok แตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่น คือผู้ใช้ไม่เพียงแค่เสพคอนเทนต์อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถ “ตัดสินใจ” ทำบางอย่างต่อได้ทันที เช่น70% ค้นหาโปรโมชันหรือส่วนลดต่อ64% มองหารีวิวและประสบการณ์จากผู้ใช้จริงท่านอื่นๆ52% ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจซื้อสิ่งนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่า “คอนเทนต์ปังๆ ใน TikTok” ไม่ได้มีแค่หน้าที่สร้างความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็น “ตัวเร่ง” สำคัญต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในแบบเรียลไทม์อีกด้วย เมื่อลองสังเกตก็จะเห็นว่าหลายแคมเปญที่ประสบความสำเร็จในช่วงสงกรานต์ มักจะมีจุดร่วมคือคอนเทนต์ที่ไม่เพียงแค่ทำ storytelling เก่ง แต่ยังพาไปซื้อ และรีวิวสินค้าหรือบริการให้ดูจริงๆ ด้วยเช่นกันนั่นจึงเป็นเหตุผลที่กลุ่มธุรกิจจำนวนมากเริ่มปรับแนวทางการทำคอนเทนต์ให้เน้นการสื่อสารแบบกระชับ เข้าใจง่าย และเชื่อมโยงกับอารมณ์ในช่วงเทศกาล ยิ่งถ้าหากคุณเป็นเอเจนซี่โฆษณา หรือทีมรับทำการตลาดที่ดูแลลูกค้าหลากหลายหมวดสินค้า การเข้าใจว่าผู้ใช้ TikTok “พร้อมดู พร้อมซื้อ” กับอะไร คือกุญแจสำคัญในการเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสม เพราะพฤติกรรมของผู้ใช้งาน TikTok ในแต่ละกลุ่มก็ต่างมีรูปแบบการตอบสนองที่เฉพาะตัว หากสามารถเลือกใช้…